เว็บบล็อก ด.ญอรนุช ศิริมาศ ชั้นม.2 เลขที่14 โรงเรียนบ้านป่าผาง

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การแก้สมการกำลังสอง

  • สมการกำลังสอง หมายถึง สมการที่เขียนในรูป ax2 + bx + c = 0 เมื่อ a, b, c เป็นค่าคงตัว และ a ไม่เท่ากับ 0

    บทนิยามของสมการกำลังสอง

    สมการกำลังสองที่มีรูปทั่วไปเป็น ax2 + bx + c = 0 เมื่อ a , b , c เป็นค่าคงตัว และ a ไม่เท่ากับ 0 ทำได้โดยอาศัยการแยกตัวประกอบ หาจำนวนเต็มสองจำนวนที่คูณกันได้ c และบวกกันได้ b
    ตัวอย่าง จงหาคำตอบของสมการ x2 – 32x + 31 = 0

    x2 – 32x + 31 = 0

    ( x2– 31 ) ( x – 1 ) = 0

    ดังนั้น x – 31 = 0 หรือ x – 1 = 0

    x = 31 หรือ x = 1

    คำตอบของสมการคือ 31 และ 1

    ตัวอย่าง จงหาคำตอบของสมการ x2+ 5x + 6 = 0

    x2 + 5x + 6 = 0

    ( x + 2 ) ( x + 3 ) = 0

    ดังนั้น x + 2 = 0 หรือ x + 3 = 0

    x = -2 หรือ x = -3

    คำตอบของสมการคือ -2 และ -3



    ในการแก้สมการบางครั้ง ถ้านำค่าคงตัวมาคูณหรือหารทั้งสองข้างของสมการ จะช่วยให้การแยกตัวประกอบเพื่อหาคำตอบของสมการทำได้ง่ายขึ้น

    ตัวอย่าง จงแก้สมการ -6x2 + 12x – 6 = 0

    -6x2 + 12x – 6 = 0

    นำ -6 มาหารทั้งสองข้างของสมการ จะได้

    x2– 2x + 1 = 0

    ( x – 1 ) ( x – 1 ) = 0

    ดังนั้น x – 1 = 0

    x = 0

    คำตอบของสมการคือ 1

    ตัวอย่าง จงแก้สมการ 1.5x2 = 7.7x - 1

    1.5x2 - 7.7x + 1 = 0

    นำ 10 มาคูณทั้งสองข้างของสมการ จะได้

    15x2 – 77x + 10 = 0

    ( 15x – 2 ) ( x - 5 ) = 0

    ดังนั้น 15x – 2 = 0 หรือ x – 5 = 0

    x = เศษ 2 ส่วน 15 หรือ 5

    คำตอบของสมการคือ เศษ 2 ส่วน 15 และ 5



    การหาคำตอบของสมการกำลังสองในรูป ax2 + bx + c = 0 เมื่อ a , b , c เป็นค่าคงตัว และ a ไม่เท่ากับ 0 ในกรณี c มีค่าเป็น 0 ใช้สมบัติการแจกแจง

    ตัวอย่าง จงแก้สมการ 15x2 – 10x = 0

    15x2 – 10x = 0

    5x2 ( 3x – 2 ) = 0

    ดังนั้น 5x = 0 หรือ 3x – 2 = 0

    x = 0 หรือ x = เศษ 2 ส่วน 3

    คำตอบของสมการคือ 0 และ เศษ 2 ส่วน 3



    การหาคำตอบของสมการกำลังสอง ในรูป ax + bx + c = 0 เมื่อ a , b ,c เป็นค่าคงตัว และ a ไม่เท่ากับ 0 ในกรณีที่ c มีค่าเป็น 0 การแก้สมการกำลังสองที่ได้รูปทั่วไปเป็น x2 = c เมื่อ c > 0 x2 – c = 0

    ตัวอย่าง จงแก้สมการ x2 – 169 = 0

    x2 - 132 = 0

    ( x – 13 ) ( x + 13 ) = 0

    ดังนั้น x – 13 = 0 หรือ x + 13 = 0

    x = 13 หรือ x = -13

    คำตอบของสมการคือ 13 และ -13

    ตัวอย่าง จงแก้สมการ 4x2 = 16

    4x2 - 16 = 0

    ( 2x )2 – 42 = 0

    ( 2x – 4 ) ( 2x + 4 ) = 0

    ดังนั้น 2x – 4 = 0 หรือ 2x + 4 = 0

    x = เศษ 4 ส่วน 2 หรือ x = - เศษ 4 ส่วน 2

    x = 2 หรือ x = -2

    คำตอบของสมการคือ 2 และ -2



    การแก้สมการกำลังสองที่มีรูปทั่วไปเป็น x2 = c เมื่อ c > 0

    ตัวอย่าง จงแก้สมการ ( 2x – 3 )2 = 16

    ( 2x - 3 )2 - 16 = 0

    ( 2x - 3 )2 - 42 = 0

    ( 2x – 3 – 4 ) ( 2x – 3 + 4 ) = 0

    ( 2x + 1 ) ( 2x– 7 ) = 0

    ดังนั้น 2x + 1 = 0 หรือ 2x – 7 = 0

    2x = -1 หรือ 2x = 7

    x = - เศษ 1 ส่วน 2 หรือ x = เศษ 7 ส่วน 2

    คำตอบของสมการคือ - เศษ 1 ส่วน 2 และ เศษ 7 ส่วน 2



    การแก้สมการกำลังสอง
    1.โดยวิธีแยกตัวประกอบ
    สมบัติที่ใช้ในการแก้สมการกำลังสอง

    ตัวอย่าง
    ( x - 3 ) ( x + 4 ) = 0
    ดังนั้น x - 3 = 0 หรือ
    x = 3 หรือ
    x = 3 , -4
    ตัวอย่าง
    ( 2x - 5 ) ( 3x - 6 ) = 0
    ดังนั้น 2x - 5 = 0 หรือ 3x - 6 = 0
    x = เศษ 5 ส่วน 2 หรือ x = เศษ 6 ส่วน 3
    x = 2
    x = เศษ 5 ส่วน 2 , 2

    2.โดยวิธีทำเป็นกำลังสองสมบูรณ์
    การแยกตัวประกอบของพหุนาม ax2 + bx + c เมื่อ a,b,c เป็นค่าคงตัวและ a ไม่เท่ากับ 0 โดยจัดพหุนามให้อยู่ในรูปกำลังสองสมบูรณ์
    จากการแก้สมการ เราใช้วิธีทำทางขวามือของสมการให้เท่ากับ 0 และทางซ้ายมือของสมการ เราพยายามทำให้อยู่ในรูปผลคูณของตัวประกอบกำลังหนึ่ง โดยวิธีแยกตัวประกอบ แต่บางครั้งการแยกตัวประกอบทางซ้ายมือของพหุนาม คำตอบจะอยู่ในรูปที่สลับซับซ้อนมาก จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการทำเป็นกำลังสองสมบูรณ์ มาช่วยในการหาคำตอบ

    ตัวอย่าง
    จงแก้สมการ x2 + 2x + 3 = 0
    x2 + 2x + 3 = 0
    x2+ 2x + 12 - 12 + 3 = 0
    ( x + 1 )2 - 1 + 3 = 0
    ( x + 1 )2 + 2 = 0
    เนื่องจาก ( x + 1 )2 > 0 เสมอ ดังนั้น ( x + 1 )2 + 2 > 0 เสมอ
    แสดงว่าไม่มีค่า x ที่ทำให้ ( x + 1 )2 + 2 = 0
    สรุป ไม่มีจำนวนจริงใดเป็นคำตอบของสมการ

    หลักในการแก้สมการกำลังสองโดยวิธีทำเป็นกำลังสองสมบูรณ์
    1. จัดสมการที่อยู่ในรูป ax2 + bx + c = 0
    2 .กรณีที่ a ไม่เท่ากับ 1 ให้นำ a หารตลอด
    3. จัดสมการทางซ้ายมือของเครื่องหมายเท่ากับโดยวิธีทำเป็นกำลังสองสมบูรณ์
    4. จัดสมการทางซ้ายมือต่อจาก ข้อ 3 โดยใช้ผลต่างของกำลังสอง แล้วแยกตัวประกอบ
    5. ให้ตัวประกอบแต่ละตัวเท่ากับ 0 แล้วหาค่าของตัวแปร

    3.โดยใช้สูตร
    - ถ้า b2 - 4ac > 0 คำตอบของสมการจะมี 2 คำตอบ
    - ถ้า b2 - 4ac > 0 คำตอบของสมการจะมีเพียงคำตอบเดียว
    - ถ้า b2- 4ac < 0 คำตอบของสมการดังกล่าวจะไม่มีจำนวนจริงใดเป็นคำตอบ
    11ถูกใจ · แสดงความคิดเห็น
    • Snow Nanny, Nach Weeranach, Wakes Upp และ คนอื่นอีก 19 คน ถูกใจสิ่งนี้

เขียนโดย Unknown ที่ 18:46
ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปยัง Xแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความใหม่กว่า บทความที่เก่ากว่า หน้าแรก
สมัครสมาชิก: ส่งความคิดเห็น (Atom)

คลังบทความของบล็อก

  • ▼  2014 (8)
    • ▼  กุมภาพันธ์ (8)
      • 5. ศาสนาสำคัญของโลก ศาสนาสำคัญของโลก 1.       ...
      • 10 อันดับของหวานประจำชาติอาเซียน
      • อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
      • ประวัติและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
      • อาหารประจําชาติอาเซียน 10 ประเทศ ประเท�
      • ทฤษฎีบทพีทาโกรัส หลากหลายรูปแบบ ง่ายต่อการศึกษาแล...
      • การแก้สมการกำลังสอง
      • ขนมไทยโบราณที่น่าจดจำ และ ขนมไทยมงคล ๙ อย่าง
  • ►  2013 (2)
    • ►  ตุลาคม (1)
    • ►  กันยายน (1)

เกี่ยวกับฉัน

Unknown
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน
บางเบา ธีม. ขับเคลื่อนโดย Blogger.